แสดงผล
ขนาดตัวอักษร
เลือกภาษา

เป้าหมายที่ 15

เป้าหมายที่ 15

เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย
หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสีย
ความหลากหลายทางชีวภาพ

เป้าหมายย่อย 15.1 สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ระบบนิเวศบนบกและแหล่งน้ำจืดในแผ่นดิน รวมทั้งบริการทางระบบนิเวศอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ ภูเขาและพื้นที่แห้งแล้ง โดยเป็นไปตามข้อบังคับภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 15.1.1 สัดส่วนของพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่ดินทั้งหมด
• ตัวชี้วัด 15.1.2 สัดส่วนของพื้นที่สำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั่งทางบกและแหล่งน้ำจืด ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครอง จำแนกตามประเภทระบบนิเวศ

เป้าหมายย่อย 15.2 ส่งเสริมการดำเนินการด้านการบริหารจัดการป่าไม้ทุกประเภทอย่างยั่งยืน หยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม และเพิ่มการปลูกป่าและฟื้นฟูป่าทั่วโลกอย่างจริงจัง ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 15.2.1 ความก้าวหน้าในการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

เป้าหมายย่อย 15.3 ต่อต้านการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ฟื้นฟูที่ดินและดินที่เสื่อมโทรม รวมถึงที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ภัยแล้ง และอุทกภัย และพยายามที่จะบรรลุถึงความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 15.3.1 สัดส่วนของที่ดินที่ถูกทำให้เสื่อมโทรมต่อพื้นที่ทั้งหมด

เป้าหมายย่อย 15.4 สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ระบบนิเวศภูเขาและความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศเหล่านั้น เพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถของระบบนิเวศในการสร้างผลประโยชน์อันสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573

• ตัวชี้วัด 15.4.1 ขอบเขตของพื้นที่คุ้มครองที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพบนภูเขา
• ตัวชี้วัด 15.4.2 (ก) ดัชนีพื้นที่ภูเขาสีเขียว (Mountain Green Cover Index) และ (ข) สัดส่วนที่ดินภูเขาที่เสื่อมโทรม

เป้าหมายย่อย 15.5 ปฏิบัติการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดการเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ หยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และภายในปี พ.ศ. 2563 ปกป้องและป้องกันการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม

• ตัวชี้วัด 15.5.1 ดัชนีบัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (Red List Index)

เป้าหมายย่อย 15.6 ส่งเสริมการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม และส่งเสริมการเข้าถึงทรัพยากรเหล่านั้นอย่างเหมาะสม ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ

• ตัวชี้วัด 15.6.1 จำนวนประเทศที่มีการใช้กรอบทางกฎหมาย กรอบการบริหารงาน และกรอบนโยบาย ที่ประกันความเป็นธรรมและความเท่าเทียมในการแบ่งปันผลประโยชน์

เป้าหมายย่อย 15.7 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อจะยุติการล่าและการขนย้ายชนิดพันธุ์พืชและสัตว์คุ้มครอง และแก้ปัญหาทั้งอุปสงค์และอุปทานต่อผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย

• ตัวชี้วัด 15.7.1 สัดส่วนของการค้าสัตว์ป่าที่ถูกล่าหรือถูกขนย้ายอย่างผิดกฎหมาย

เป้าหมายย่อย 15.8 นำมาตรการเพื่อป้องกันการนำเข้าและลดผลกระทบของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานต่อระบบนิเวศบกและน้ำ และควบคุมหรือขจัด priority species ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 15.8.1 สัดส่วนประเทศที่ใช้กฎหมายระดับชาติที่เกี่ยวข้อง และจัดสรรทรัพยากรเพื่อป้องกันหรือควบคุมชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ถูกรุกรานอย่างเพียงพอ

เป้าหมายย่อย 15.9 บูรณาการมูลค่าของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปสู่การจัดทำแผน กระบวนการพัฒนา ยุทธศาสตร์การลดความยากจน และบัญชีทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563

• ตัวชี้วัด 15.9.1 (ก) จำนวนประเทศที่กำหนดเป้าหมายระดับชาติที่สอดคล้องหรือใกล้เคียงกับเป้าประสงค์ที่ 2 ของ Aichi Biodiversity ของแผนยุทธศาสตร์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2011-2020 ไว้ในยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ (NBSAP) และมีรายงานความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว (ข) บูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพในระบบการรายงานและบัญชีประชาชาติ (การดำเนินการตามระบบบัญชีเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม SEEA)

เป้าหมายย่อย 15.a ระดมและเพิ่มทรัพยากรทางการเงินจากทุกแหล่ง เพื่ออนุรักษ์และใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

• ตัวชี้วัด 15.a.1 (ก) มูลค่าการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และการใช้จ่ายของรัฐด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน (ข) รายได้และเงินทุนจากการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ

เป้าหมายย่อย 15.b ระดมทรัพยากรจากทุกแหล่งและทุกระดับเพื่อสนับสนุนเงินแก่การบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมสำหรับประเทศกำลังพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในการบริหารจัดการ ซึ่งรวมถึงการอนุรักษ์และการปลูกป่า

• ตัวชี้วัด 15.b.1 (ก) มูลค่าการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และการใช้จ่ายของรัฐด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน (ข) รายได้และเงินทุนจากการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ

เป้าหมายย่อย 15.c เพิ่มพูนการสนับสนุนในระดับโลกแก่ความพยายามที่จะต่อสู้กับการล่า การเคลื่อนย้ายชนิดพันธุ์คุ้มครอง รวมถึงโดยการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น

• ตัวชี้วัด 15.c.1 สัดส่วนของการค้าสัตว์ป่าที่ถูกล่าหรือถูกขนย้ายอย่างผิดกฎหมาย

Top